![พลูคาว ควรกินตอนไหน, พลูคาว สรรพคุณ](https://lapoonorganic.com/wp-content/uploads/2022/11/พลูคาว-ควรกินตอนไหน-0.webp)
พลูคาวเป็นพืชสมุนไพรที่คนมักจะไม่ค่อยรู้จักชื่อแต่สามารถเห็นได้บ่อยในการกินแกล้มกับก้อยหรือลู่ ซึ่งในปัจจุบันชื่อของพลูคาวถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งในเรื่องของสรรพคุณที่ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสได้ดี จึงสามารถช่วยป้องกันโรคโควิด 19 ได้และยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าพลูคาวคืออะไร และ พลูคาว ควรกินตอนไหน ? Lapoon Organic จะพาไปรู้จักกันเลยค่ะ
พลูคาว ควรกินตอนไหน ? พลูคาวคืออะไร ดีต่อสุขภาพยังไงบ้าง ?!
พลูคาว มีชื่อเรียกได้หลายอย่างทั้ง ผักคาวตอง หรือ ผักก้านตอง เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่แพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ โดยเฉพาะจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว และอินโดนีเซีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata อยู่ในตระกูลเดียวกับชะพลู เป็นไม้ล้มลุกลำต้นกลมสูงประมาณ 15-30 ซม. โดยลำต้นจะมีสีเขียวและบางต้นก็ออกสีแดง สามารถยาวขึ้นได้เรื่อย ๆ คล้ายไม้เลื้อยแต่ไม่ใช่พืชประเภทไม้เลื้อย มีความโดดเด่นที่ใบคล้ายกับรูปหัวใจและมีกลิ่นคาวคล้ายกับกลิ่นคาวปลาทั้งต้นจึงได้ชื่อว่าพลูคาว ออกดอกเล็ก ๆ สีขาว ในประเทศไทยสามารถพบได้ตามที่ชื้นแฉะและปัจจุบันนิยมปลูกทางภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย
ทั้งนี้พลูคาวเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กินเป็นยาเพราะมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคและเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ดี และมีการสกัดนำไปทำเป็นแคปซูลยาสมุนไพรด้วย เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกายหลายชนิด ก่อนจะไปดูคำตอบว่าพลูคาว ควรกินตอนไหน เราไปรู้จักกับสรรพคุณของพลูคาวกันก่อนดีกว่าค่ะ
พลูคาว สรรพคุณน่ารู้(จัก)
![พลูคาว ควรกินตอนไหน, พลูคาว สรรพคุณ](https://lapoonorganic.com/wp-content/uploads/2022/11/พลูคาว-ควรกินตอนไหน-1.webp)
พลูคาวเป็นที่รู้จักของคนไทยมานานแล้วและมักจะนำมาใช้เพื่อเป็นยาสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณหลายอย่าง โดยในตำรายาไทยได้ระบุไว้ว่า พลูคาวเป็นสมุนไพรรสเผ็ดที่มีฤทธิ์เย็น ต้นพลูคาว สรรพคุณใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจได้ ขับปัสสาวะ แก้โรคผิวหนัง แผลเปื่อย แก้ไอ, รากพลูคาว สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคบิด โรคผิวหนัง ริดสีดวงทวาร โรคหัด ส่วนใบพลูคาวจะมีสรรพคุณมากสุด ใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้เหมือนกับส่วนต้นและรากรวมกัน สามารถแก้โรคผิวหนังทุกชนิด รวมทั้งสามารถใช้เป็นสมุนไพรแก้อาหารเป็นพิษได้ด้วย และในทางการแพทย์ปัจจุบันก็ได้ระบุถึงสรรพคุณของพลูคาวไว้ด้วยเช่นกัน ดังนี้
1. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่างๆ
พลูคาวมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบในร่างกายได้ด้วยการยับยั้งเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุของการอักเสบ ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้คล้ายกับยาต้านอักเสบกลุ่ม NSAIDs จึงทำให้พลูคาวสามารถต้านการอักเสบได้ดี โดยอาการอักเสบจะทำให้ร่างกายรู้สึกเจ็บปวดหรือบวมในบริเวณที่มีอาการ หากมีอาการอักเสบเกิดขึ้นบ่อยหรือปล่อยไว้นานก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขมันพอกตับ โรคมะเร็งได้ด้วย
2. ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง
มีงานวิจัยศึกษาพบว่า สารกลุ่มฟลาโวนอยด์และอัลคาลอยด์ ที่อยู่ในพลูคาวสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำลายเซลส์มะเร็งและเนื้องอกได้ รวมทั้งมีความสามารถในการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งและเนื้องอกได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยทำลายเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รักษาน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ และขับสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายได้
3. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและต้านไวรัส
![พลูคาว ควรกินตอนไหน, พลูคาว สรรพคุณ](https://lapoonorganic.com/wp-content/uploads/2022/11/พลูคาว-ควรกินตอนไหน-2.webp)
พลูคาวเป็นสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ดี การกินพลูคาวจะช่วยกระตุ้นทำให้ร่างกายเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับสรรพคุณในผลเบาบับและป้องกันเชื้อไวรัสต่าง ๆ ได้ดีรวมถึงไวรัสโควิด 19 ด้วย ซึ่งข้อมูลจากสถาบันวิจัยได้ระบุไว้ในปี 2548 ว่าพลูคาวสามารถรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้รวมทั้งอาการแพ้อาหารได้ด้วย และยังช่วยรักษาภาวะคุ้มกันบกพร่องได้ด้วย ซึ่งในภายหลังก้มีงานวิจัยออกมาเสริมว่า “พลูคาวมีฤทธิ์ทำลายและยับยั้งเชื้อไวรัสได้หลายชนิด คือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอดส์ เริม และไวรัสที่ทำให้เป็นโรคมือเท้าปากเปื่อย”
แวะเลือกชื้อสินค้ามากมาย ทั้งพืชผัก ผลไม้ สมุนไพร และผลิตภัณฑ์ออแกนิกแท้ 100%
ใน ราคาพิเศษ กับ Lapoon Organic ได้อีกที่
พลูคาว ควรกินตอนไหน และมีวิธีกินยังไง ?
![พลูคาว ควรกินตอนไหน, พลูคาว สรรพคุณ](https://lapoonorganic.com/wp-content/uploads/2022/11/พลูคาว-ควรกินตอนไหน-3.webp)
พลูคาวเป็นผักที่มีรสชาติเผ็ดที่ปลายลิ้นเล็กน้อย ออกซ่า ๆ เมื่อกินสด การใช้พลูคาวสดสามารถนำมาใช้ได้ทั้งต้นแต่ควรตัดให้สูงจากพื้นประมาณ 1 ฝ่ามือเพื่อให้สามารถงอกใหม่ได้ โดยพลูคาวเป็นผักพื้นบ้านของไทยที่หากินได้ง่ายและนิยมกินสดเพราะมีรสชาติเฉพาะตัวและได้ประโยชน์ในด้านสุขภาพมากกว่า หรือหากต้องการกินเพื่อป้องกันโรคและรักษาอาการอักเสบในร่างกายก็สามารถนำลำต้นพลูคาวไปตากแห้งแล้วนำมาเคี่ยวกับน้ำดื่มวันละ 2 ครั้งเช้าเย็นก็ได้แต่ถ้าใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่นให้ต้มอย่างอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ใบพลูคาว เพราะหากกินในปริมาณเข้มข้นมากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่จนเป็นอันตรายได้
สำหรับคำถามที่ว่าพลูคาว ควรกินตอนไหน? แนะนำให้กินพลูคาวในตอนช่วงหน้าฝน เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเย็นขึ้นอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งมีสาเหตุมาจากธาตุลมที่ทำให้เกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นหวัด แต่เมนูผักพลูคาวก็มีไม่มากเท่าไหร่นักเพราะไม่นิยมนำไปปรุงสุก ส่วนมากจะกินเป็นผักแกล้มอาหารที่มีรสจัดอย่างก้อย ลาบ หรือลู่มากกว่า เพราะกลิ่นคาวผักจะช่วยลดทอนของกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี และยังเสริมรสชาติเผ็ดให้กับอาหารได้ดีขึ้นด้วย
ข้อควรระวัง
การกินพลูคาวเป็นผักในอาหารไม่ค่อยส่งผลอันตรายกับร่างกายเพราะไม่ได้กินในปริมาณมาก แต่ถ้ากินพลูคาวมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทำให้มีอาการอาเจียน หายใจสั้นและถี่ และอาจเป็นอันตรายได้ และควรใช้สำหรับเป็นยาทาภายนอกด้วยความระมัดระวัง หากใช้เกินขนาดก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีพลูคาวรูปแบบแคปซูลที่สามารถนำมากินได้ง่ายขึ้นแต่หากต้องการกินเพื่อรักษาโรคควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
พลูคาวเป็นสมุนไพรที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักแต่มีประโยชน์เยอะมากเลยใช่มั้ยคะ ? โดยเฉพาะสรรพคุณในด้านการเสริมภูมิคุ้มกันและต้านเชื้อไวรัสให้กับร่างกาย ไม่น่าเชื่อว่าผักพื้นบ้านแสนธรรมดานี้จะมีความพิเศษจนถูกกล่าวถึงในฐานะผักต้านไวรัสเลยทีเดียว เมื่อได้รู้ถึงสรรพคุณและวิธีกินแล้วว่า พลูคาว ควรกินตอนไหน ก็สามารถหาต้นพลูคาวแถวบ้านมาลองกินกันได้นะคะ ยิ่งในช่วงที่มีไวรัสโควิด 19 ระบาดเช่นนี้การกินผักพลูคาวเพื่อเสริมภูมิให้กับร่างกายก็ได้ประโยชน์ทั้งประหยัดและมีผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยอีกด้วย
“เป็นคนใส่ใจสุขภาพ มองหาสินค้า Organic 100% ต้องแวะมาช้อปกับ Lapoon Organic แบรนด์สินค้าคุณภาพที่ใส่ใจลงไปในทุกขั้นตอน”
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : disthai.com, medthai.com, rspg.or.th, ttdkl.dtam.moph.go.th, apps.phar.ubu.ac.th
Featured Image Credit : freepik.com/user22978605