กระเจี๊ยบเป็นพืชที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านานทั้งในฐานะอาหารและสมุนไพร นอกจากนี้กระเจี๊ยบยังมีสีสันสดใสและรสชาติเปรี้ยวที่เป็นเอกลักษณ์จึงนิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่มอีกด้วย หลายคนคงคุ้นเคยกับกระเจี๊ยบเป็นอย่างดีเพราะมักจะถูกนำมาใช้ประโยชน์หลาย ๆ อย่างในวงการอาหารเสริมด้วย ซึ่ง Lapoon Organic จะพาทุกคนไปรู้จักกับกระเจี๊ยบให้มากกว่าเดิมกัน
ทำความรู้จัก กระเจี๊ยบ โทษ และ สรรพคุณ เพื่อการกินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กระเจี๊ยบคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ?
กระเจี๊ยบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdariffa Linn. และมีชื่อในภาษาอังกฤษคือ Rozelle หรือ red sorrel ในบางท้องถิ่นก็มีชื่อเรียกกระเจี๊ยบต่างกันออกไป เช่น ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, แกงแคง, ส้มปู, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมนำใบ ดอก และผลสีแดงของกระเจี๊ยบมาใช้ทำเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งกระเจี๊ยบ สรรพคุณจะมีอยู่ทั้งในใบ ดอก และผลเลยทีเดียว แต่ กระเจี๊ยบ โทษ ก็มีเช่นกันหากกินอย่างไม่ถูกต้อง
ชื้อสินค้าออแกนิก ราคาพิเศษ กับ Lapoon Organic คลิก !
กระเจี๊ยบ
การเเปรรูป : ตากแห้ง ทำชา
กระเจี๊ยบ สรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
เป็นที่ทราบกันดีว่ากระเจี๊ยบมีประโยชน์ต่อร่างกายมามากมายทั้งในวงการอาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพร และอาหารเสริม ซึ่งส่งผลดีต่อร่างกายหลายประการ มาดูกันว่ากระเจี๊ยบมีสรรพคุณอะไรที่น่าสนใจบ้าง
1. ลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก
จากการศึกษาของ Journal of Alternative and Complementary Medicine พบว่า กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบรองผลของกระเจี๊ยบช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ให้ลดลงได้ และช่วยให้มีปริมาณของไขมันดี (HDL) เพิ่มมากขึ้นด้วยส่งผลให้ผู้ที่กินเป็นประจำมีน้ำหนักลดลงได้
2. ลดความดันโลหิต
มีการทดลองจากวารสารสุขภาพ The Journal of Hypertension. ประเทศออสเตรเลียและโรมาเนีย พบว่า กลุ่มผู้ทดลองที่ดื่มชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวันสามารถลดความดันโลหิตได้โดยเฉลี่ย ความดันโลหิตตัวบน (ขณะหัวใจบีบตัว) ลดลงเฉลี่ย 7.5 มิลลิเมตรปรอท และ ความดันตัวล่าง(ขณะหัวใจคลายตัว) ลดลงเฉลี่ย 3.53 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี
3. ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน
มีข้อมูลการศึกษาชี้ว่ากระเจี๊ยบแดงมีแนวโน้มที่เป็นประโยชน์ต่อ เบาหวานชนิดที่2 (type2 Diabetes) ซึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลได้ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองเมื่อปี 2013 Pharmacognosy Research พบว่าสารสกัดจากกระเจี๊ยบช่วยให้ระดับน้ำตาลในสัตว์ทดลงลดลงถึง 12% และเมื่อทดลองกับสัตว์ทดลองที่มีระดับน้ำตาลปกติก็ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด
4. ป้องกันโรคหัวใจ
ดอกกระเจี๊ยบมีสีแดงจากสารแอนโธไซยานินที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยทำให้เลือดไม่หนืด จึงป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันหัวใจขาดเลือด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้
นอกจากกระเจี๊ยบจะมีสรรพคุณตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วกระเจี๊ยบยังมีคุณประโยชน์อีกมากมายทั้งมีฤทธิ์แก้ไอ ละลายเสมหะ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันโลหิตจาง และแก้กระหายช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะกระเจี๊ยบเป็นสมุนไพรที่มีผลการทดลองรองรับมากมาย แต่ถ้ามองหาสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้ท้องอืดสามารถอ่าน สมุนไพรแก้ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นข้อมูลเพิ่มเติมได้นะคะ
กระเจี๊ยบ โทษ ที่คาดไม่ถึง กินผิดวิธีอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ !
แม้ว่ากระเจี๊ยบ สรรพคุณจะมีคุณค่ามากมายแค่ไหนแต่หากกินผิดวิธี กระเจี๊ยบ โทษก็มีได้เช่นกัน เรามาดูโทษของกระเจี๊ยบกันเลย
1. ทำให้ท้องเสีย
กระเจี๊ยบ โทษมีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากกินกระเจี๊ยบมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย ดังนั้นจึงควรกินในปริมาณที่พอเหมาะและไม่มากจนเกินไป
2. เป็นพิษต่อเซลล์ของอัณฑะและอสุจิ
กระเจี๊ยบ โทษเป็นพิษอ่อน ๆ มีการศึกษาพบว่า สารสกัดดอกกระเจี๊ยบแดงมีผลต่อการสร้างอสุจิและทำให้จำนวนอสุจิลดลง ดังนั้นจึงไม่ควรกินในปริมาณมาก
3. ขับปัสสาวะ
กระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แม้ว่าจะมีประโยชน์ในบางประการแต่ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณมากและติดต่อกันนาน เพราะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ
อย่างไรก็ตามการกินกระเจี๊ยบควรนำมาล้างให้สะอาดเสียก่อน เพราะอาจะมีการปนเปื้อนของสารเคมีที่ใช้ปลูกหรือการปนเปื้อนจากมลพิษที่ก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน (อ่านวิธีล้างผัก เพิ่มเติมได้อีกนะคะ)
ข้อควรระวัง ถ้ายังไม่รู้ไม่แนะนำให้กินกระเจี๊ยบ !
กระเจี๊ยบ โทษที่มีอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ จากผลการศึกษาในหนูทดลองพบว่า กระเจี๊ยบอาจทำให้ลูกหนูเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้าลง ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง รวมทั้งสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย
กระเจี๊ยบทำอะไรได้บ้าง ? กินอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ
กระเจี๊ยบเป็นส่วนผสมสำคัญสำหรับ Herbal tea และมีความสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศที่สามารถใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ชาชง, กระเจี๊ยบอบแห้ง, กระเจี๊ยบแคปซูล หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์จากสีแดงของกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบเป็นสีผสมอาหารได้อีกด้วย หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีกหลายอย่าง เช่น แยม, เยลลี่, เบเกอรี, ไอศกรีม, ไวน์, น้ำหวาน, ซอส เป็นต้น
จะเห็นได้ว่ากระเจี๊ยบ โทษนั้นมีไม่มากเมื่อเทียบกับคุณประโยชน์แล้ว การที่มีผลิตภัณฑ์จากกระเจี๊ยบมากมายในท้องตลาดสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และหากเลือกกินอย่างพอดีก็ส่งผลดีต่อร่างกายไม่น้อยเลย เมื่อได้ทราบถึงสรรพคุณและโทษของกระเจี๊ยบแล้ว ก็อย่าลืมกินกระเจี๊ยบตามที่เราแนะนำและไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป
“เป็นคนใส่ใจสุขภาพ มองหาสินค้า Organic 100% ต้องแวะมาช้อปกับ Lapoon Organic แบรนด์สินค้าคุณภาพที่ใส่ใจลงไปในทุกขั้นตอน”
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : doctor.or.th, pharmacy.su.ac.th, thailandplus.tv, medthai.com
Featured Image Credit : vecteezy.com/ahmedasfour40