กระท่อมเป็นพืชที่เพิ่งได้รับการปลดจากทำเนียบพืชสารเสพติดเมื่อไม่นานมานี้ เพราะมีสรรพคุณที่สามารถนำมาใช้เป็นยาที่ให้ประโยชน์ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก่อนที่จะใช้กระท่อมก็ต้องมาทำความรู้จักกับ สรรพคุณของกระท่อม และโทษของพืชชนิดนี้กันก่อน เพื่อให้นำไปใช้ได้ในทางที่ถูกต้องและไม่เป็นอันตราย มาทำความรู้จักกระท่อมไปพร้อมกับ Lapoon Organic กันได้เลยค่ะ
สรรพคุณของกระท่อม และข้อควรระวังที่ควรรู้ ทำความรู้จักให้ดีก่อนซื้อ !
กระท่อมเป็นพืชที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับกาแฟ คือ วงศ์ Rubiaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง ใบค่อนข้างใหญ่คล้ายกระดังงา ดอกมีลักษณะกลมโตเท่าผลพุทราสีขาวอมเหลือง และมีผลเป็นแคปซูลที่ภายในมีผลย่อยและเมล็ดอัดแน่น แต่ส่วนที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดจะเป็นส่วนใบของกระท่อมเพราะมีสรรพคุณทางยาอยู่มาก พืชชนิดนี้สามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นสูงและมีดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในประเทศไทยจะเหมาะกับภูมิประเทศทางภาคใต้แต่ก็อาจจะเติบโตในพื้นที่อื่นได้เช่นกัน และมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ กระท่อมก้านเขียว (แตงกวา), กระท่อมชนิดขอบใบหยัก (ยักษ์ใหญ่, หางกั้ง) และกระท่อมก้านแดง
สรรพคุณของกระท่อม ทางยามีอะไรบ้าง ?
สรรพคุณของกระท่อมสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ เพราะในกระท่อมจะสารสำคัญ คือไมทราไจนีน (mitragynine) เป็นสารที่พบได้เฉพาะในกระท่อมเท่านั้น สารชนิดนี้มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดและต้านการอักเสบได้ นอกจากนี้ยังพบสารสกัดเซเว่นไฮดร็อกซีไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) ที่มีฤทธิ์ระงับความปวดได้คล้ายกับการใช้มอร์ฟีนด้วย แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า อีกทั้งยังใช้เวลานานกว่ามอร์ฟีนจึงจะมีอาการเสพติด และมีสรรพคุณทางยาอีกหลายประการ ดังนี้
1. รักษาอาการท้องเสีย
กระท่อมถูกนำมาใช้เพื่อเป็นยารักษามานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณทั้งใบสดและใบแห้ง โดยการนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงกับน้ำเพื่อรักษาอาการติดเชื้อในลำไส้และบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วงได้
2. รักษาเบาหวาน
ในตำรับยาไทยโบราณมีการระบุถึงสรรพคุณของกระท่อมไว้ว่าสามารถรักษาอาการเบาหวานได้ โดยแกะใบออกจากก้านนำมาเคี้ยวแล้วคายกากออกแล้วดื่มน้ำตาม ซึ่งการศึกษาในปัจจุบันพบว่าสารสกัดเมทานอลจากใบกระท่อมช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการทำงานของอินซูลิน แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมหากนำไปผลิตเพื่อเป็นยารักษาเบาหวานโดยเฉพาะ
3. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
เนื่องจากกระท่อมมีสรรพคุณช่วยระงับความปวดได้ดีจึงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ด้วย โดยจะช่วยกดความรู้สึกปวดไว้ทำให้ไม่รู้สึกปวดเมื่อยร่างกาย แต่ทั้งนี้ต้องกินในปริมาณที่พอเหมาะด้วย
4. ใช้เป็นยาแก้ไอ
ในสมัยโบราณมีการนำใบกระท่อมมาใช้เป็นยาสมุนไพรแก้ไอได้เช่นเดียวกับสรรพคุณทางยาของขิง รวมทั้งช่วยรักษาแผลในปากได้ด้วย
ชื้อสินค้าออแกนิก ราคาพิเศษ กับ Lapoon Organic คลิก !
ขิง
การเเปรรูป : ขายสด ตากแห้ง ทำอาหารเครื่องแกง
5. ช่วยลดความดันโลหิต
กระท่อมมีสรรพคุณที่ทำให้ไม่อยากอาหารได้เมื่อเคี้ยวใบกระท่อมจึงช่วยให้ไม่รู้สึกหิว แต่ไม่ควรใช้เพื่อหวังเป็นยาลดน้ำหนัก หรือใช้เพื่อการลดน้ำหนักโดยตรงเพราะยังไม่มีงานวิจัยรองรับถึงผลข้างเคียงที่ปลอดภัย และถ้ากินเกินขนาดก็อาจกลายเป็นส่งผลเสียแทนได้
ทั้งนี้มีข้อมูลบางแห่งระบุว่ากระท่อมสามารถช่วยรักษาโรคโควิด 19 ได้แต่ยังไม่มีข้อมูลการวิจัยรองรับถึงสรรพคุณในด้านนี้ ดังนั้นหากต้องการรักษาโรคโควิด19 จึงไม่ควรใช้กระท่อมแต่ให้ใช้เป็นฟ้าทะลายโจร สรรพคุณที่มีงานวิจัยรองรับแทนจะดีกว่า
ชื้อสินค้าออแกนิก ราคาพิเศษ กับ Lapoon Organic คลิก !
กระท่อม
การเเปรรูป : ขายสด ทำอาหาร
ใบกระท่อม โทษต่อร่างกาย
เนื่องจากกระท่อมมีฤทธิ์ที่เป็นสารเสพติดอยู่หากกินมากก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ทำให้รู้สึกมึนงง คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักลดผิดปกติ ปากแห้ง วิตกกังวลและกระวนกระวายใจ เหงื่อออกและคัน แพ้แดด นอนไม่หลับ ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และในบางรายจะมีอาการทางจิตได้ เช่น หวาดระแวง เห็นภาพหลอน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่องจนอาจก่ออันตรายให้กับตนเองและผู้อื่นได้
ทั้งนี้ควรระวังการกินในปริมาณมากและกินต่อเนื่องจนเสพติด ใบกระท่อม โทษเมื่อเสพติดหากไม่ได้กินก็จะมีอาการอ่อนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก อ่อนเพลีย มีภาวะซึมเศร้า จมูกแฉะ น้ำตาไหล บางรายจะมีท่าทางก้าวร้าวแต่เป็นมิตร (Hostility) ร่วมด้วย
บุคคลที่ไม่ควรกินกระท่อม ได้แก่ : สตรีตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้มีอาการทางจิตผิดปกติ และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
กระท่อมนำไปกินได้อย่างไร ?
ส่วนที่นำมากินของกระท่อมจะใช้เป็นส่วนใบโดยแต่เดิมนั้นนิยมกินโดยเคี้ยวใบสด นำไปตำน้ำพริก หรือทำเป็นชา แต่ในปัจจุบันมีการนำไปทำอาหารอย่างอื่นด้วย เช่น ทอด, ย่างไฟ หรือ ผัดรวมกับผักและเนื้อสัตว์ แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงการออกฤทธิ์ของกระท่อมเมื่อผ่านความร้อนว่าจะมีสรรพคุณเปลี่ยนไปหรือไม่ แต่ก็สามารถกินได้โดยไม่มีอันตรายต่อร่างกาย
ข้อควรระวังในการกินกระท่อม
การกินใบกระท่อมไม่ควรกินเกินวันละ 5 ใบและให้เคี้ยวแล้วคายกากทิ้ง ไม่ควรกลืนลงไปรวมทั้งไม่ควรกินก้านของกระท่อมด้วย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยทั้งใบและก้านของกระท่อมได้ หากกลืนลงไปก็จะทําให้ไปอุดตันอยู่ที่ลําไส้ เป็นถุงห่อหุ้มติดอยู่กับผนังลําไส้ ทําให้มีอาการปวดท้องและเกิดภาวะถุงท่อมได้
ใบกระท่อม โทษส่งผลที่ค่อนข้างรุนแรงต่อร่างกายมากจึงต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้เพื่อเป็นยาเท่านั้น ไม่ควรกินกระท่อมติดต่อกันนานจนเกินไปเพราะอาจกลายเป็นอาการเสพติดและส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามกระท่อมก็เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มากเช่นกันหากใช้อย่างถูกวิธี
“เป็นคนใส่ใจสุขภาพ มองหาสินค้า Organic 100% ต้องแวะมาช้อปกับ Lapoon Organic แบรนด์สินค้าคุณภาพที่ใส่ใจลงไปในทุกขั้นตอน”
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : pharmacy.mahidol.ac.th, thairath.co.th, rxlist.com, bbc.com, thansettakij.com
Featured Image Credit : vecteezy.com/piyawat_n-skt